ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)
สุดยอดผ้าเมืองไทย – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเภทผ้าฝ้าย
รางวัลชนะเลิศ ผ้าฝ้ายย้อมครามลายบ้านเชียง
ความเป็นมา
เดิมชาวบ้านทอผ้าฝ้ายย้อมครามสีพื้น และต่อมาก็มัดหมี่เป็นลายต่างๆ ตามที่จินตนาการได้ หรือดูลายจาหนังสือ ภายหลังได้ลอกลายเขียนสีจากหม้อดินเผาบ้านเชียง ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ในสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ที่ขุดค้นได้ในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียงมาประยุกต์เป็นลายผ้า ปรากฏว่าความสวยงามและเอกลักษณ์ของลายนี้ ทำให้ผ้าฝ้ายย้อมครามลายบ้านเชียงเป็นที่นิยมขึ้นอย่างกว้างขวาง
จุดเด่น ลวดลายสวยงามแปลกตา และเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เส้นฝ้ายผลิตเองตามกรรมวิธีธรรมชาติ และย้อมด้วยสีธรรมชาติ ทอย่างประณีต เนื้อแน่น อายุการใช้งานยาวนาน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผ้าฝ้ายลายผ้าแม่นางคำ
ความเป็นมา
บ้านพันนานี้มีการทอผ้าสืบต่อกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษและมีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาว่า วันหนึ่งมียายแก่แปลกหน้าคนหนึ่งมาขอยืมฟืมของชาวบ้าน เพื่อไปทอผ้า หนึ่งเดือนให้หลังยายแก่คนนั้นนำฟืมมาคืนปรากฏว่ามีลายผ้าติดอยู่ที่ฟืมด้วย ครั้งสุดท้ายที่มายืมยายคนนั้นขอพังค้างคืนด้วย ตกดึกเจ้าของบ้านตื่นขึ้นมา แล้วพบว่าร่างของยายกลายเป็นงูใหญ่ จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามียายแก่มายืมฟืมอีกเลยชาวบ้านได้นำลายผ้าที่ค้างอยู่กับฟืมไปทอต่อ เรียกลายดังกล่าวว่า “ลายซิ่นฝ้าย” จากนั้นมีการประยุกต์และดัดแปลงลายซิ่นฝ้ายนั้นเรื่อยมาแล้วตั้งชื่อลายผ้าว่า “ลายผ้าแม่นางคำ” เพราะเชื่อกันว่างูใหญ่นั้นน่าจะเป็นแม่นางคำผู้สิงสถิตอยู่ ณ ศาลใหญ่ประจำหมู่บ้านนั่นเอง
จุดเด่น เป็นผ้าฝ้ายแท้ ทอด้วยมือ สีสันและลวดลายสวยงามแปลกตา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผ้าฝ้ายมัดหมี่ร่วมสมัยลายดอกฝาง (ดอกหางนกยูง)
ความเป็นมา
เป็นฝีมือทอผ้าของกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูผ้าและลายผ้าพื้นเมืองอีสานโดยผู้ทอได้คิดประดิษฐ์ลายด้วยการเลียนแบบดอกไม้ประจำตำบลฝาง คือดอกฝางหรือดอกนกยูง ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
จุดเด่น ลวดลายและสีสันสวยงาม สอดดิ้นสีทอง เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี สวมใส่สบาย ซับเหงื่อได้ดี
สุดยอดผ้าเมืองไทย – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเภทผ้าไหม
รางวัลชนะเลิศ ผ้าไหมมัดหมี่
ความเป็นมา
ผ้าไหมมัดหมี่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนอีสานที่มีวิธีการสร้างลายผ้าไหมด้วยวิธีโบราณสืบต่อกันมาช้านานโดยนำเส้นไหมมามัดเป็นลวดลายแล้วย้อมเป็นสีต่างๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน เมื่อนำเส้นไหมที่มัดและย้อมสีแล้วไปทอก็จะได้ผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงามซึ่งกรรมวิธีมัดและย้อมเส้นไหมนี้เองนำมาซึ่งชื่อผ้า“มัดหมี่”
จุดเด่น เนื่องจากผ้าไหมมัดหมี่ต้องมัดย้อมด้วยมือเท่านั้น เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้มาก จะช่วยได้ก็แค่บางอย่างเท่านั้น ผ้าไหมมัดหมี่จึงมีเอกลักษณ์หรือลวดลายเฉพาะตัว ทอโดยผู้ชำนาญงานและฝีมือประณีต
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผ้าขิดไหม
ความเป็นมา
ผ้าขิดไหมเป็นผ้าที่ทำยากและใช้ความประณีตสูง มีต้นแบบมาจากปู่ย่าตายาย ซึ่งผลิตหมอนขิดและผ้าใช้สอยในครั้งโบราณปัจจุบันมีการประยุกต์และพัฒนามาเป็นผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์ และมีความสวยงาม
จุดเด่น ทอขึ้นอย่างประณีต ควบคุมการทอโดยผู้ชำนาญการ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จึงได้ผ้าทอที่เนื้อแน่น คุณภาพดีสีสวย และมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผ้าไหมมัดหมี่
ความเป็นมา
การทอผ้ามัดหมี่ของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านแฝก-โนนสำราญ สืบทอดวิธีการทอมือด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งเป็นเครื่องมือดั้งเดิมของบรรพบุรุษ แต่ได้นำลวดลายโบราณ ชื่อลายหมี่ขอทบเชือกมาประยุกต์และเปลี่ยนจากการใช้ย้อมสีธรรมชาติเป็นการย้อมด้วยสีเคมีสำเร็จรูป
จุดเด่น ฝีมือการทอสม่ำเสมอ เพราะทอด้วยมือ สีสันสดใส สวยงามด้วยสีเคมี
ผ้ามัดหมี่ – ตัวอย่างผ้ามัดหมี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จ.ขอนแก่น
ลายหมี่กง
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
สามารถอธิบายเอกลักษณ์ของผ้าไหมเหมืองขอนแก่นได้ด้งต่อไปนี้
1. ลายผ้าไหมมัดหมี่ ลายหมี่กง ลายขันหมากเบ็ง หรือเรียกอีกชื่อได้ว่าลายเชิงเทียนหรือลายขอพระเทพ สองลายนี้ถือว่าเป็นลายต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่นนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมเมืองขอนแก่น
2. สีสันและความประณีตของลาย เป็นเอกลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่งของผ้าไหมเมืองขอนแก่น สีที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมคือ สีม่วง สีแดง สีเขียว สีเม็ดมะขาม
3. การทอผ้าแบบ 3 ตะกอ เป็นเอกลักษณ์พิเศษของการทอผ้าเมืองขอนแก่นผ้าที่ทอด้วยระบบ 3 ตะกอจะมีลักษณะหนา เนื้อผ้าแน่น ผ้าสองด้านจะมีโทนสีแตกต่างกัน
4. ผ้าหน้านาง (ท้องถิ่นอื่นเรียกว่า “ปูม” ซึ่งเป็นผ้าที่ทอขึ้นสำหรับเจ้านายใช้นุ่ง มีลักษณะแบบโจงกระเบน ในสมัยโบราณนิยมใช้ในเขตอีสานใต้ ในประเทศลาวแถบแขวงเมืองจำปาสัก และเขมร) การทอผ้าไหมมัดหมี่ “หน้านาง” เป็นเอกลักษณ์ของการทอผ้าแบบหนึ่งของเมืองขอนแก่น ซึ่งได้มีการลอกเลียนแบบมาจากผ้าต้นแบบซึ่งเป็นผ้าของเจ้าเมืองชนบทคนแรกปัจจุบันผ้าผืนนี้ก็ยังปรากฏอยู่มีอายุกว่า 220 ปี เอกลักษณ์การทอผ้าหน้านางของเมืองขอนแก่นจะมีลวดลายสีสันวิจิตรพิสดารกว่าที่อื่น เนื่องจากได้มีการนำลายโบราณมาประยุกต์เข้ากับลวดลายไทยใหม่ ๆ ที่คิดสร้างสรรค์ขึ้น “ผ้าหน้านาง เมืองขอนแก่น”ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ของการประกวดผ้าไหมไทยประเภท “ผ้าปูม” เมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2536จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งทอโดย นายสุรมนตรี ศรีสมบูรณ์ เป็นช่างทอผ้าอำเภอชนบท
5. จากการสำรวจของวิทยาลัยการอาชีพจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ศึกษาจากลายผ้าเก่าที่พอจะพบเห็นได้ในปัจจุบันในอำเภอชนบท สามารถจำแนกลายหมี่พื้นฐาน หรือ แม่ลายได้ทั้งหมด 7 ลาย ได้แก่ 1. ลายหมี่ข้อ 2.ลายหมี่โคม 3.ลายหมี่บักจับ 4.ลายหมี่กง 5.ลายหมี่ดอกแก้ว 6. ลายหมี่ขอ 7. ลายหมี่ใบไผ่ และยังสามารถแบ่งกลุ่ม ของการจัดวางลายได้เป็น 2 วิธี คือ การจัดวางแบบลายเดียวซ้ำกันทั้งผืน และการจัดวาง แบบมีเส้นแบ่งลายเป็นทางยาว มีทั้งทางด้านตั้งและด้านนอน เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “หมี่คั่น” หรือ “หมี่ตา”
2. สีสันและความประณีตของลาย เป็นเอกลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่งของผ้าไหมเมืองขอนแก่น สีที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมคือ สีม่วง สีแดง สีเขียว สีเม็ดมะขาม
3. การทอผ้าแบบ 3 ตะกอ เป็นเอกลักษณ์พิเศษของการทอผ้าเมืองขอนแก่นผ้าที่ทอด้วยระบบ 3 ตะกอจะมีลักษณะหนา เนื้อผ้าแน่น ผ้าสองด้านจะมีโทนสีแตกต่างกัน
4. ผ้าหน้านาง (ท้องถิ่นอื่นเรียกว่า “ปูม” ซึ่งเป็นผ้าที่ทอขึ้นสำหรับเจ้านายใช้นุ่ง มีลักษณะแบบโจงกระเบน ในสมัยโบราณนิยมใช้ในเขตอีสานใต้ ในประเทศลาวแถบแขวงเมืองจำปาสัก และเขมร) การทอผ้าไหมมัดหมี่ “หน้านาง” เป็นเอกลักษณ์ของการทอผ้าแบบหนึ่งของเมืองขอนแก่น ซึ่งได้มีการลอกเลียนแบบมาจากผ้าต้นแบบซึ่งเป็นผ้าของเจ้าเมืองชนบทคนแรกปัจจุบันผ้าผืนนี้ก็ยังปรากฏอยู่มีอายุกว่า 220 ปี เอกลักษณ์การทอผ้าหน้านางของเมืองขอนแก่นจะมีลวดลายสีสันวิจิตรพิสดารกว่าที่อื่น เนื่องจากได้มีการนำลายโบราณมาประยุกต์เข้ากับลวดลายไทยใหม่ ๆ ที่คิดสร้างสรรค์ขึ้น “ผ้าหน้านาง เมืองขอนแก่น”ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ของการประกวดผ้าไหมไทยประเภท “ผ้าปูม” เมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2536จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งทอโดย นายสุรมนตรี ศรีสมบูรณ์ เป็นช่างทอผ้าอำเภอชนบท
5. จากการสำรวจของวิทยาลัยการอาชีพจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ศึกษาจากลายผ้าเก่าที่พอจะพบเห็นได้ในปัจจุบันในอำเภอชนบท สามารถจำแนกลายหมี่พื้นฐาน หรือ แม่ลายได้ทั้งหมด 7 ลาย ได้แก่ 1. ลายหมี่ข้อ 2.ลายหมี่โคม 3.ลายหมี่บักจับ 4.ลายหมี่กง 5.ลายหมี่ดอกแก้ว 6. ลายหมี่ขอ 7. ลายหมี่ใบไผ่ และยังสามารถแบ่งกลุ่ม ของการจัดวางลายได้เป็น 2 วิธี คือ การจัดวางแบบลายเดียวซ้ำกันทั้งผืน และการจัดวาง แบบมีเส้นแบ่งลายเป็นทางยาว มีทั้งทางด้านตั้งและด้านนอน เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “หมี่คั่น” หรือ “หมี่ตา”
ลวดลายผ้าที่พบในจังหวัดนี้ได้แก่ ผ้าไหมและฝ้ายมัดหมี่ ลายหมี่ใบพัด ลายหมี่กง ลายหมี่น้ำพอง ลายหมี่ขอ ลายหมี่งูเหลือมใหญ่ ลายหมี่ปราสาทเสกกษัตริย์ ลายหมี่แปบ ผสมขอปลาหมึก ลายหมี่โคมเก้า ลายหมี่คั่นตาล็อค หลายหมี่กงห้าลายผสมกงเจ็ดสาย ลายหมี่จี้เพชรสอดไส้ปลาไหล โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้าผืน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจำพวกเครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ อาทิ ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง ผ้าพันคอ ฯลฯ
การสืบทอดทางวัฒนธรรม
อำเภอชนบท ได้มีการตั้งเป็นเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2326 มีกวนเมืองแสน หรือพระจันตะประเทศเป็นเจ้าเมืองคนแรก ตามหลักฐานเดิมมีชื่อว่า “ชลบท” ซึ่งแปลว่าทางน้ำหรือเมืองที่มีน้ำล้อมรอบ ซึ่งประชากรมีการอพยพมาจากเมืองสุวรรณภูมิ ประเทศลาว (เมืองสุวรรณภูมิ อพยพมาจากแคว้นจำปาสัก ) จากการที่เมืองชนบทซึ่งมีชาติพันธุ์ไท – ลาวสายแคว้นจำปาสักนี้เองที่ทำให้ศิลปะการทอผ้าไหมไดมีการเผยแพร่ อนุรักษ์ และวิวัฒนาการเป็นมรดกตกทอดมาสู่รุ่นหลัง ทั้งนี้เนื่องจากแคว้นจำปาสักหรือแขวงจำปาสักของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการทอผ้าไหมโดยอำเภอชนบทนี้ถือว่าเป็นศูนย์รวมการทอผ้าที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น ทุกอำเภอที่พบการทอผ้าจะได้รับการถ่ายทอดทางด้านลวดลายต่าง ๆ มาจากอำเภอชนบททั้งสิ้น
ลายหมี่โคมเก้า
กระบวนการปัญหา และอุปสรรคทางด้านการผลิตและการจำหน่าย
อำเภอชนบท ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการย้อมสีผ้าเป็นการย้อมทับไล่สีจากอ่อนไปเข้า และนิยมใช้โทนสีเดียวกัน ซึ่งผิดกับสีผ้าสมัยโบราณที่มักจะใช้สีสด หรือสีฉูดฉาด รวมทั้งลวดลายบางอย่างที่ทำยากหรือไม่เป็นที่นิยม ปัจจุบันก็จะไม่ค่อยมีผู้ทอ หรือไม่ทอเพื่อจำหน่ายแต่จะทอเพื่อใช้เอง ซึ่งทำให้อาจจะสูญไปในอนาคต เช่น ลายส่าว (ลายเฉียง) ลายหมี่คั่น (หมี่ตา) ในเรื่องของการจำหน่ายพบว่า มีร้านค้าจำหน่ายอยู่ทั่วไปมีทั้งปลีกและส่ง ในอีกกรณีหนึ่งนายทุนจะเป็นผู้กำหนดเรื่องลายและคุณภาพ ของผ้าจะมีการว่าจ้างช่างในหมู่บ้านทำหน้าที่ในการมัดย้อมเส้นไหม จากนั้นจะนำไหมที่มัดย้อมแล้วไปทอในจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสานนอกเหนือจากในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วทุกอำเภอที่มีการสำรวจ จะพบว่ามีการใช้ไหมเป็นวัตถุดิบในการทอผ้าแทบทั้งสิ้น จะมีการใช้ฝ้ายแต่เพียงการทอเพื่อใช้เองในครอบครัวเท่านั้น
ลายหมี่ใบพัด
แต่ที่อำเภอหนองเรือ พบว่ามีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้ามัดหมี่โดยใช้ฝ้ายที่ย้อม สีธรรมชาติจนถึงกับได้มีการรวมตัวให้เป็นกลุ่มทอผ้าขึ้น ชื่อว่าศูนย์ผลิตและจำหน่ายผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแวง ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยงานของรัฐบาลคือ กรมส่งเสริมการเกษตร มีการใช้กี่ขนาดใหญ่ยาว 2 – 3 เมตร เป็นกี่ตั้ง มี 4 ตะกอ การสร้างลาย จะทำโดยการเหยียบตะกอหรือเขาสลับกันไปเป็นคู่ ๆ แล้วแต่ลายบาง ลายจะใช้เทคนิคในการยึดเส้นด้วยแล้วแบ่งช่วงทอจนเกิดเป็นลาย บางลายอาจจะต้องยึดเส้นพุ่ง บางลายยึดเส้นยืนแต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมมากนักมีปัญหาเรื่องของตลาดรับซื้อ ส่วนหนึ่งคาดว่าอาจจะขาดการประชาสัมพันธ์
ลายหมี่น้ำพอง
ที่อำเภอมัญจาคีรี อำเภอพระยืน อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอชุมแพ โดยสามอำเภอแรกมีพื้นที่ติดกับอำเภอชนบท ทำให้ได้รับอิทธิพลการทอผ้าไหมมัดหมี่มาด้วยและทั้งห้าอำเภอนี้เป็นสถานที่ที่นายทุนส่งผ้าที่มัดย้อมแล้วมาทอ เพราะฉะนั้นลวดลาย และเทคนิคต่างๆจึงเหมือนกับที่อำเภอชนบท
ที่อำเภอมัญจาคีรีนั้นมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทอเพื่อใช้เอง และจะซื้อไหมจากโรงงานเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทอเพื่อจำหน่าย ที่อำเภอบ้านไผ่ พบว่ามีการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยรับมาจากอำเภอชนบท แต่ปัญหาที่ประสบอยู่คือ ขายได้ปริมาณน้อย เนื่องจากสินค้า มีต้นทุนที่สูงเพราะ มีการว่าจ้างทำงานหลายทอดส่งผลให้สินค้า มีราคาแพง อีกทั้งความต้องการของตลาดลดลง ซึ่งอาจถือได้ว่าขาดการพัฒนาทางด้านลวดลายและคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการ
ผ้ามัดหมี่ ลายหมี่ขอ
ผ้ามัดหมี่ – ตัวอย่างผ้ามัดหมี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จ.ศรีสะเกษ
ผ้ามัดหมี่ลายเต่าและลายไทยใหญ่ ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
ผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอลายเชิงเทียน อำเภอราศีไศล
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
บ้านเปาะ ตำบลบึงบูรณ์ อำเภอบึงบูรณ์ พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ด้วยด้ายสำเร็จที่ซื้อจากจังหวัดเพชรบูรณ์นำมาย้อมสีเองด้วยสีวิทยาศาสตร์ลายขิด ลายกระจับ
บ้านไทร ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ 3 ตะกอลายดั้งเดิม ได้แก่ ลายเต่า ลายไทยใหญ่ โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้านุ่งและจากในทุกพื้นที่ที่สำรวจพบ ส่วนใหญ่ได้ทอเพื่อทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าพื้นที่ไม่มีลวดลายหลัก (ไหม / ฝ้าย ) และมีการทอแบบ 2 ตะกอ เป็นลายโคม ลายพญานาค และลายประยุกต์เช่นลายโคม ลายสีดา เป็นต้น
ที่บ้านห้วย ตำบลบัวทุ่ง อำเภอราษีไศล และ บ้านโนนคำแก้ว ตำบลสังเม็ก อำเภอ กันทรลักษณ์ พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอ ด้วยไหมที่เลี้ยงเอง ย้อมสีวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลายงูน้อย ลายไทย ลายเชิงเทียน ลายต้นสน ลายไก่และมีการทอ ลายดั้งเดิมอยู่บ้าง เป็นลายขอคั่น ลายขอพวง ลายนาคน้อย ลายนาคปรก เป็นต้น
ที่บ้านห้วย ตำบลบัวทุ่ง อำเภอราษีไศล และ บ้านโนนคำแก้ว ตำบลสังเม็ก อำเภอ กันทรลักษณ์ พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอ ด้วยไหมที่เลี้ยงเอง ย้อมสีวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลายงูน้อย ลายไทย ลายเชิงเทียน ลายต้นสน ลายไก่และมีการทอ ลายดั้งเดิมอยู่บ้าง เป็นลายขอคั่น ลายขอพวง ลายนาคน้อย ลายนาคปรก เป็นต้น
ที่บ้านหาด ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน และ บ้านหนองถ่ม ตำบลดู่ อำเภอ กันทรารมย์ มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเองและบางส่วนก็ซื้อมา ได้รับการแนะนำจากศูนย์ศิลปาชีพ ในพระบรมราชินีนาถในการทอผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอลายโบราณ พบผ้าลายโคมห้า ลายดอกแก้ว ลายขอคั่น ลายไทย ลายปลาตะเพียน และทอลายประยุกต์ เช่นลายนกยูง เป็นต้น
ที่บ้านกุดเมืองฮาม ตำบลกุดเมืองฮาม อำเภอยางชุม พบว่าไหมที่ใช้ทอเป็นไหมที่เลี้ยงเองส่วนหนึ่งและซื้อมาอีกส่วนหนึ่ง ทอผ้าไหมมัดหมี่ ทั้ง 2 และ 3 ตะกอ ลายขอ ลายบักจับเครือบางลายเป็นลายดั้งเดิมรวมกับลายประยุกต์เช่น ลายนาคต้นสน ลายโคมห้าเอื้อสอดไส้ด้วยลายกาบ
ที่บ้านเขิน ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง บ้านโนนคูณ ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ และบ้านหนองหว้า ตำบลหนองหว้า อำเภอเบญจลักษณ์ พบว่ามีความพยายามที่จะปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมแต่ไม่เป็นผลเนื่องจากความแห้งแล้งจึงต้องซื้อไหมมาย้อมด้วยสีวิทยาศาสตร์เป็นการทอเพื่อขาย การทอผ้ามัดหมี่ที่ชาวบ้านคิดลายเอง ลวดลายไม่โดดเด่น ส่วนใหญ่จะไม่มีชื่อเรียก มีทั้งฝ้ายและไหม ทอเป็นผ้าซิ่น ผ้าเบี่ยง และผ้าขาวม้า เป็นต้น
ที่บ้านร่องสะอาด ตำบลพรหมสวัสดิ์ กิ่งอำเภอพยุห์ มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อใช้ในการทอผ้าไหมมัดหมี่ และใช้สีวิทยาศาสตร์ในการย้อมเช่นเดียวกัน เป็นการทอเพื่อใช้และขายกันเองในหมู่บ้าน ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแนะนำ พบผ้าซิ่นไหมลายดั้งเดิมเรียกว่า ผ้าไหมเข็นและลายอื่น ๆ ที่คิดขึ้นเอง มีการนำผ้าไหมต่อเชิงด้วยฝ้ายขิด
ที่บ้านค้อปอ ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญซื้อไหมจากอุทุมพรพิสัยมาขายที่หมู่บ้านย้อมสีวิทยาศาสตร์ พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายหน่วยสับขอ ลายหน่วยสับมะแปปน้อย
การสืบทอดทางวัฒนธรรม
ส่วนใหญ่เป็นผ้าที่ทอโดยใช้ลวดลายพื้นถิ่นที่มีการสืบทอดมานาน แต่บางอำเภอได้มีการนำลายมาจากแหล่งอื่น เช่น ที่อำเภอห้วยทับทัน มีการนำลายผ้ามาจาก หนังสือ ซึ่งได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ อีกทางหนึ่งได้รับการอบรมจากทางราชการ
กระบวนการปัญหา และอุปสรรคทางด้านการผลิตและการจำหน่าย
อำเภอบึงบูรณ์ มีการรวมกลุ่มเป็นศูนย์ทอผ้าของหมู่บ้านชื่อว่าศูนย์พัฒนาอาชีพเช่นเดียวกับที่อำเภอห้วยทับทัน มีหน่วยราชการจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนครเข้ามาดูแลส่วนอำเภอที่เหลือสถานที่ทอจะใช้พื้นที่บ้านของตนเอง
อำเภอบึงบูรณ์ มีการรวมกลุ่มเป็นศูนย์ทอผ้าของหมู่บ้านชื่อว่าศูนย์พัฒนาอาชีพเช่นเดียวกับที่อำเภอห้วยทับทัน มีหน่วยราชการจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนครเข้ามาดูแลส่วนอำเภอที่เหลือสถานที่ทอจะใช้พื้นที่บ้านของตนเอง
ที่อำเภอบึงบูรณ์ และอำเภอไพรบึง เส้นไหมที่ใช้ผลิตขึ้นเอง อำเภออื่น ๆจะใช้วิธีซื้อสำเร็จ ที่บ้านโนนคำแก้ว ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอเบญจลักษณ์ มีการมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ ส่วนอำเภออื่น ๆ ใช้สีวิทยาศาสตร์
การทอส่วนใหญ่จะใช้กี่ธรรมดา จะมีบางแห่งที่ใช้กี่กระตุก เช่น ตำบลดู่ อำเภอกัทรรมย์ ทุกอำเภอที่พบการทอผ้าจะใช้ทำเป็นอาชีพเสริมหลังว่างจากการทำนาทำสวน ยกเว้นบ้านโนนคำแก้ว ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษณ์
จากการสำรวจพบว่า
ที่จังหวัดศรีสะเกษมีแนวทางที่จะสามารถพัฒนาอาชีพการทอผ้าได้เนื่องจากชาวบ้านมีความสนใจและตื่นตัว หากแต่ขาดการสืบทอดไปสู่คนรุ่นหนุ่มสาวเพราะยังไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร พบว่าผู้ทอผ้าขาดความสนใจที่จะทอผ้าลายโบราณ ทั้งนี้เนื่องจาก ใช้เวลานานทำให้ไม่คุ้มกับรายได้ที่ได้รับ
การจำหน่าย
จะมี 3 ช่องทางคือ มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ จำหน่ายตามศูนย์ทอผ้าที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละท้องที่ และจำหน่ายโดยผ่านหน่วยงานราชการ ปัญหาที่พบในเรื่องของการจำหน่ายคือการกำหนดราคารับซื้อต่ำโดยพ่อค้าคนกลางและหน่วยงานราชการ รวมถึงการหักเปอร์เซ็นต์จากการขาย จ่ายล่าช้า จ่ายไม่ครบ ความช่วยเหลือที่ต้องการคือการสนับสนุนทางด้าน อุปกรณ์การผลิต การรวมกลุ่มการผลิต เงินทุน การอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ การตลาดและการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งร้านค้ากลุ่ม โดยอาจจัดตั้งในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อลดบทบาทของพ่อค้าคนกลาง
ผ้ามัดหมี่ – ตัวอย่างผ้ามัดหมี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จ.เลย
หมี่คั่นในตัว บ้านเหมืองแบ่ง อำเภอวังสะพุง
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
บ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายดั้งเดิมได้แก่ ลายไก่ ลายนกยูง ลายดอกแก้วพื้นเมือง ลายหมี่คั่นในตัว ลายดอกจิกการทอผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดั้งเดิมได้แก่ ลายหอปราสาท ลายกระเบื้องคว่ำ ลายนาคเชิงเทียนและลายประยุกต์ได้แก่ ลายดอกแล้ว โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้านุ่ง
บ้านผาน้อย อำเภอวังสะพุง พบการทอผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดั้งเดิมได้แก่ ลายหมี่ โคมห้า ลายนก – ตีนซิ่นลายเอี้ย (ถือว่าเป็นลายเอกลักษณ์ของจังหวัด) และลายประยุกต์ ได้แก่ลายหมี่ใบไผ่ ลายขอ ลายหมี่โคมห้า ลายขิดโบราณและลายขิดดั้งเดิม (นำแนบมาจาก ลายขิด)โดยส่วนใหญ่ ใช้ทอเป็นผ้านุ่ง ผ้าขาวม้า
ลายโคมห้า บ้านผาน้อย อำเภอวังสะพุง
บ้านหนองตูม* ตำบลผาสามยอด กิ่งอำเภอเอราวัณ พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายดั้งเดิม ได้แก่ ลายหมี่น้ำพอง ลายประยุกต์ได้แก่ ลายดอกแก้ว ลายปีกไก่ ลายปีกไก่น้อยลายหมี่โคมห้า ลายนาคดอกฝ้าย และลายที่คิดขึ้นใหม่ได้แก่ ลายสร้อยพร้าว โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้านุ่ง
บ้านสงเปือย ตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน พบการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายดั้งเดิม ได้แก่ ลายหมี่ตา ลายหมี่ตุ้มใหญ่ ลายหมี่โคมเก้า ลายหมี่กงสองคลอง (ถือว่าเป็นลายเอกลักษณ์ของที่นี่) และลายประยุกต์ได้แก่ ลายสน ลายนาค โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้านุ่ง ผ้าผืนและผ้าขาวม้า
ลายหมี่กงสองคลอง บ้านสงเปือย ตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน
กระบวนการปัญหา และอุปสรรคทางด้านการผลิตและการจำหน่าย
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านผานาง-ผาเกิ้ง กิ่งอำเภอเอราวัณ เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีงานทำและมีรายได้ ผ้าที่ทอนั้นเป็นผ้าไหมมีทั้งลายโบราณที่สืบทอดกันมา และลายประยุกต์ เส้นไหนที่ใช้มีทั้งซื้อมา และผลิตขึ้นเอง (มีพื้นที่ปลูกหม่อนประมาณ 10 ไร่) และได้รับพระราชทานจากศูนย์ศิลปาชีพในพระตำหนักจิตรลดาฯ ย้อมสีวิทยาศาสตร์ การทอใช้กี่พื้นบ้าน (กี่ธรรมดา) ผ้าที่ทอสำเร็จแล้วมีการจำน่าย 2 ลักษณะคือ การส่งกลับจำหน่ายยังศูนย์ฯ หรือจำหน่ายเองในร้านค้าของโครงการฯ
จากการสำรวจพบว่าโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่เป็นแหล่งทอผ้าที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะสมาชิกของโครงการได้รับการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจเรื่องลวดลายและการใช้สี ทำให้ลวดลายผ้าที่ทอได้มีความหลากหลาย ที่สำรวจพบมีถึง 19 ลาย สมาชิกในโครงการฯ รู้จักการดัดแปลงลวดลายและสีสันที่มีอยู่เดิมให้เกิดเป็นผ้าลายใหม่ได้อย่างหลากหลายสีที่ใช้ในการทอ ส่วนใหญ่ไม่ใช้สีสด แต่มีการเลือกใช้คู่สีที่เหมาะสม โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่จัดเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมมัดหมี่ที่มีชื่อเสียงและถือว่าเป็นศูนย์ทอผ้าไหม ครบวงจรโครงการผาบ่าวผาสาวเป็นโครงการในพระราชดำริ ที่ช่วยชาวบ้านมีงานทำมีวิทยากรมาสอนให้ชาวบ้านอนุรักษ์ลายพื้นบ้านไว้ เมื่อทอเสร็จส่วนใหญ่จะส่งเข้าโครงการฯ
ที่บ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง และบ้านผาน้อย อำเภอวังสะพุง มีการรวมกลุ่มผู้ทอเป็นกลุ่มสตรีทอผ้า โดยได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาชุมชนของอำเภอวังสะพุง ในด้านการจัดหาวัตถุดิบ รูปแบบลายผ้า และเงินลงทุน ปัญหาในปัจจุบันที่พบคือ การขาดตลาดรับซื้อสินค้า
ที่บ้านสงเปือย ตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน และบ้านหนองตม ตำบลผาสามยอด กิ่งอำเภอเอราวัณ ทั้งสองหมู่บ้านก็พบการรวมกลุ่มสตรีทอผ้าเช่นเดียวกันโดยบ้านสงเปือยมีประธาน กลุ่มคือ นางกนกวรรณ ชาวบัวขาว ผ้าที่ทอได้มีการจำหน่ายโดยตรงและจำหน่ายผ่านกลุ่มฯ ลวดลายของผ้าจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะของหมู่บ้าน
ผ้าไหมมัดหมี่ลายดั้งเดิม ลายหมี่ตุ้มใหญ่ บ้านสงเปือย อำเภอเชียงคาน
ผ้าแพรวา – จ.สกลนคร
ลายดอกพิกุลน้อย
ลายนาค
ลายดอกพิกุลใหญ่
ลายนาคหัวหย่อน
เอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์
ที่ศูนย์ศิลปาชีพบ้านบ่อเดือนห้า อำเภอภูพาน และศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ พบการทอผ้าไหมแพรวาลวดลายเช่นเดียวกับที่พบในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยส่วนใหญ่ใช้ทำเป็นผ้าสไบ ผ้าผืนสำหรับตัดชุด และผ้าทอพื้นเรียบ
กระบวนการ ปัญหาและอุปสรรค ทางด้านการผลิตและการจำหน่าย
ที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ พบว่าผู้ทอผ้าในพื้นที่คือ นางฉวีวรรณ ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถให้เข้ารับการอบรมเรื่องการทอผ้าที่ศูนย์ศิลปาชีพในพระตำหนักจิตรลดา ฯ และเมื่อฝีมือดีก็ทรงโปรดให้มาเป็นครูสอนทอผ้าประจำศูนย์ นางฉวีวรรณ เป็นผู้ที่มีความถนัดในการทอผ้าแพรวาอย่างดียิ่งผู้หนึ่งเคยได้รับรางวัลจากการประกวดผ้าประจำปี ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
แหล่งอ้างอิง : http://www.openbase.in.th/taxonomy/term/80?page=17
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น