ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคกลาง

สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดำรงชีวิตได้เองเป็นส่วนใหญ่
สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดำรงชีวิตได้เองเป็นส่วนใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินหรือเครื่องไม้เครื่องมือ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพหรือ คติความเชื่อในการดำรงชีวิตประจำวันก็ตาม งานจักสานหรือเครื่องจักสานเป็นงานหัตถกรรมและศิลปแห่งภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีชีวิตของชาวชนบทในสังคม เกษตรกรรม เพราะเครื่องจักสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำได้ไม่ยาก และมักใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาทำเป็นเครื่องจักสานใช้เป็นภาชนะ ใช้ในครัวเรือน ทำเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพ และทำเป็นเครื่องเล่นเครื่องแขวนเครื่องประดับในบ้านเรือนได้อีก ด้วย
งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาที่ชาวบ้านทำขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาแต่โบราณกาล
แม้ในปัจจุบันนี้ งานจักสานหรือเครื่องจักสานก็ยังคงมีการทำกันอยู่โดยทั่วไปในทุกภูมิภาคของ ประเทศ หรืออาจจะพูดได้ว่าเครื่องจักสานในเมืองไทยนั้นมีทำมีใช้กันในทุกแห่งหนตำบล ก็เห็นจะได้เช่นกัน นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านได้ เป็นอย่างดี
จากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทย ทำให้เชื่อได้ว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณประเทศไทย
สามารถทำเครื่องจักสานมาตั้งแต่ยุคหินกลางเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว แต่หลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่า
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เคยอาศัยอยู่ในประเทศไทยที่บริเวณบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้วได้แก่ ภาชนะดินเผาชิ้นหนึ่ง รูปร่างคล้ายชามหรืออ่างเล็กๆผิวด้านนอกมีรอยของลายจักสานโดยรอบ
แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในอดีตรู้จักการทำภาชนะจักสาน แน่นอน แต่ที่ไม่สามารถหาหลักฐานของเครื่องจักสานโดยตรงได้นั้น เพราะงานจักสานส่วนใหญ่ทำมาจากวัตถุดิบที่เป็นไม้ที่มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยผุ ผังย่อยสลายได้ง่ายจึงยากที่จะมีอายุยืนยาวอยู่ได้นานๆ
หลายพันหลายหมื่นปีเช่นภาชนะที่ทำจากดิน หินหรือโลหะอื่นๆ
สำหรับงานจักสานนั้นเป็นหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ
โดยเฉพาะเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ ที่มีวิถีเกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายเลยที่เดียว
โดยเริ่มตั้งแต่เกิด คนไทยในชนบทสมัยโบราณจะต้องทำพิธี “ตกฟาก” ให้กับเด็กที่เกิดใหม่ทุกคน คือ
เมื่อเด็กออกจากครรภ์มารดาจะตกใส่พื้นบ้านที่เรียก ว่า “ฟาก” ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่สับให้แตกแล้วแผ่เรียงกันออกเป็นพื้นเรือนเครื่องผูกหรือ เรือนไม้ไผ่ ดังนั้นเมื้อทารกแรกเกิดมาแล้วตกลงบนฟากหรือพื้นไม้ไผ่คนโบราณจึงเรียกเวลา ที่เด็กเกิดว่า “ตกฟาก” นั่นเอง แม้ในปัจจุบันพื้นบ้านส่วนใหญ่ในเมืองหรือแม้แต่ในชนบทที่เจริญแล้วจะไม่มี พื้นบ้านที่ทำจากไม้ไผ่หรือฟากแล้ว
ก็ยังคงเรียกเวลาที่เด็กเกิดกันว่า “ตกฟาก” อยู่เช่นเคย หลังจากคลอดแล้ว “หมอตำแย” จะทำพิธี “ร่อนกระด้ง”
คือหลังจากอาบน้ำทำความสะอาดให้เด็กแรกเกิดที่ผ่านการ “ตัดสายสะดือ”ด้วยการใช้ “ริ้วไม้ไผ่”
ที่ใช้แทนมีดที่เป็นโลหะเพราะอาจทำให้เด็กเกิด บาดทะยักจากการใช้มีดโลหะได้ ภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณจึงนิยมใช้ “ริ้วไม้ไผ่”ที่มีความคมเช่นเดียวกับมีดโลหะมาตัดสายสะดือให้เด็กแรกเกิดแทน นั่นเอง
หมอตำแยจะอุ้มเด็กนอนลงบนหลังกระด้งที่มีลักษณะนูนและนุ่มยืดหยุ่นได้ดี
จากนั้นหมอตำแยจะยกกระด้งขึ้นพอเป็นพิธีแล้ววางกระแทกลงเบาๆให้เด็กตกใจแล้วร้องไห้
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณที่ทำเพื่อให้เด็ก เกิดความ คุ้นเคยกับการอุ้มของพ่อแม่เด็กนั่นเอง นอกจากการวางเด็กลงบนกระด้งแล้วคนโบราณยังนำเอาแหที่ใช้ในการหาปลามาโยงคลุม กระด้งที่เด็กนอนอยู่อีกด้วย
แต่โดยภูมิปัญญาดังกล่าวแล้ว คนในสมัยโบราณต้องการให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้สายตามองดูสิ่งที่สามารถมอง เห็นได้ใกล้ๆตัวมากกว่า โดยมีความเชื่อว่าร่างแหจะป้องกันภูตผีปีศาษไม่ให้เข้ามาทำร้ายเด็กเกิดใหม่ ได้

ที่มา.http://www.nattakarnlks.ob.tc/wisdom16.html
ที่มา.http://www.nattakarnlks.ob.tc/wisdom16.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น