วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นางสาวณัฐริกา ตรุวรรณ์ ชั้น ม.3/1 เลขที่ 26

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อนางสาวณัฐริกา ตรุวรรณ์ ชั้น ม.3/1 เลขที่ 26

เรื่องที่จัดทำ : ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย

เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2542

กำลังศึกษาที่ : โรงเรียนสว่างแดนดิน

                       อำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร

            อายุ  :  15 ปี ค้าบบบบบป๋ม ^^



         




วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของภูมิปัญญา

ความหมายของภูมิปัญญา
ภูมิปัญญา หรือ Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ที่นำมาไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ หรือ ภูมิปัญญา คือ พื้นความรู้ของปวงชนในสังคมนั้น ๆ และปวงชนในสังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่า ภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้านเช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณะและภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Folk Wisdom)
ได้มีผู้ความหมายดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 2)หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่านกระบวนการศึกษา สังเกตคิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาเป็นศาสตร์ เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ อาจกล่าวไว้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ แลการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในการตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นหาเพื่อศึกษา และนำมาใช้ก็จะเป็นที่รู้จักกันเกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ตามยุคตามสมัยได้

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์ (2542 : 2) ได้ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ องค์ความรู้ความสามารถของชุมชนที่สั่งสมสืบทอดกันมานาน เป็นความจริงแท้ของชุมชนเป็นศักยภาพที่จะใช้แก้ปัญหา จัดการปรับตน เรียนรู้ และถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างผาสุก เป็นแก่นของชุมชนที่จรรโลง ความเป็นชาติให้อยู่รอดจากทุกข์ภัยพิบัติทั้งปวง
จารุวรรณ ธรรมวัติ (2543 : 1) ได้ให้ความหมาย ของภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ แบบแผน การดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคมซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติต่อกันมา ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคล หรือทรัพยากรความรู้ก็ได้
จากการศึกษาความหมายและแนวคิดของภูมิปัญญาของชาวบ้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นพอสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถในการดำเนินชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ โดยใช้สติปัญญาสั่งสมความรู้อย่างแพร่หลาย ผสมผสานความกลมกลืนระหว่างศาสนา สภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมการประกอบอาชีพ และกระบวนการเหล่านี้มาจนหลายชั่วคนซึ่งจะเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น เกิดจากการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์เป็นระยะเวลายาวนาน โดยอาศัยภูมิปัญญาที่มีอยู่มาใช้ในการตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพการปรับตัวและแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต จนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติและสังคม



วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของภูมิปัญญา

ประเภทของภูมิปัญญา
มณนิภา ชุติบุตร (2538 : 21) และนิคม ชมพูหลง (2542 : 131) ได้แบ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

1. คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการ เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ ที่ถ่ายทอดกันมา
2. ศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติ สืบทอดกันมา
3. การประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย
4. แนวคิดหลักปฏิบัติแลเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชาวบ้านนำมาใช้ในชุมชนเป็นอิทธิพล ของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 10 กลุ่ม ดังนี้ ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 10 กลุ่ม ดังนี้
1. ด้านเกษตรกรรม เช่น การเพาะปลูก การขยายพันธ์ การเลี้ยงสัตว์ การเกษตรผสมผสาน การทำไร่นาสวนผสม การปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น
2. ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เช่น การจัดสาน ทอ การช่าง การทอผ้า การแกะสลัก เป็นต้น
3. ด้านการแพทย์แผนไทย เช่น หมอสมุนไพร หมอยากลางบ้าน หมอนวดแผนโบราณ หมอยาหม้อ
4. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การบวชป่า การสืบชะตาแม่น้ำ การอนุรักษ์ป่าชายเลน
5. ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน เช่น ผู้นำในการจัดการกองทุนของชุมชน ผู้นำในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล ผู้นำในการจัดระบบสวัสดิการ บริการชุมชน เป็นต้น
6. ด้านศิลปกรรม เช่น วาดภาพ(กิจกรรม) การปั้น (ประติมากรรม) นาฎศิลป์ ดนตรี การแสดง การละเล่นพื้นบ้าน นันทนาการ เป็นต้น
7. ด้านภาษาและวรรณกรรม เช่น ความสามารถในการอนุรักษ์ และสร้างผลงานด้านภาษา วรรณกรรมท้องถิ่น การจัดทำสารานุกรมภาษา หนังสือโบราณ การฟื้นฟู การเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นต้น
8. ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี เช่น ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อ และประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อบริบททางเศรษฐกิจ สังคม การถ่ายทอดวรรณกรรม คำสอน การประยุกต์ประเพณีบุญ เป็นต้น
9. ด้านโภชนาการ เช่น ความสามารถในการเลือกสรร ประดิษฐ์ และปรุงแต่งอาหารและยา ได้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในสภาวการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าบริการส่งออกที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก เป็นต้น
10. ด้านองค์กรชุมชน เช่น ร้านค้าชุมชน ศูนย์สาธิตการตลาด กลุ่มออมทรัพย์องค์กรด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มจักรสาน กลุ่มทอผ้า กลุ่มทอเสื่อ กลุ่มตีมีด ตีขวาน เครื่องมือที่ทำจากเหล็ก กองทุนสวัสดิการชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

จากการแบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ ได้กล่าวมาสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถแบ่งตามลักษณะของคนในท้องถิ่นหรือชุมชนได้คิดหรือ ได้รับการถ่ายทอดและถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเกิดจากความเชื่อ ความรู้สึก ความนึกคิด ในการสร้างสรรค์แบบแผนของการดำเนินชีวิต รวมถึงการนำเทคโนโลยีพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป



อ้าวอิง: http://www.ipesp.ac.th/learning/thaistory/content4.html

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยแบ่งออกเป็น4ภาค
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ
มี ขันโตก     ฟ้อน(ดารารัศมี)    ซอ    บ้านกาแล  เครื่องมือดักสัตว์
เครื่องมือทำไร่ทำนา
    ฟ้อนผี   งานแกะสลักไม้   ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ   มีการขับซอ(คำผาย)     
แกะสลักช้าง(คำอ้าย)     การทำแหนม    สืบชะตาขุนน้ำ   บวชต้นไม้บวชป่า      การทำไม้
การอพยพของคนไทยที่เข้ามาในภาคเหนือนั้น นอกจากจะปรับตัวให้เข้ากับ
การดำรงอยู่ของชาวไทยยวนหรือไทยโยนก ซึ่งถือว่าเป็นชนชาติกลุ่มใหญ่และชนชาติอื่นๆ
ที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆแล้ว
  ต้องเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยเทือกเขาสูง  ที่ราบหรือ
แอ่งระหว่างเขา
  โดยมีต้นน้ำลำธารไหลลงมาจากเทือกเขาลงสู่พื้นที่ราบต่ำเบื้องล่าง
พื้นที่ภาคเหนือจึงเป็นแหล่งต้นน้ำใหญ่ ๔ สายคือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง  แม่น้ำยม
และ แม่น้ำน่าน
    ต่างไหลลงไปรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาของที่ราบกลางประเทศ
นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกกที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำโขง ที่เป็นแม่น้ำใหญ่แบ่งเขตประเทศลาว
และราชอาณาจักรไทย และลำน้ำสายย่อยอีกหลายสายๆที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำสาละวิน
ในเขตประเทศเมียนมาร์ ด้วยเหตุดังกล่าวนั้นพื้นที่ภาคเหนือจึงมีฝนตกตามฤดูกาลและให้น้ำแก่
แม่น้ำจำนวนมากจนพัดพาเอาปุ๋ยธรรมชาติจากป่าเขาที่อยู่บนเขาสูง
  
ทำให้เกิดพื้นที่ปลูกข้าวและพืชพรรณธัญญาหารต่างๆ
  ในไม่ช้าประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘
กลุ่มไทยยวนจึงได้พากันตั้งชุมชนเมืองขึ้น
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั้นพระเจ้ามังราย แห่งอาณาจักรเชียงแสน ได้มีอำนาจเข้าครอบครอง
พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกก เมืองเชียงราย ฝาง และเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นที่ราบที่มีสายน้ำไหลลงไปรวมกับแม่น้ำโขง
 
สร้างความเป็นปึกแผ่นจนสามารถขยายพื้นที่ครอบครองไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง
   แม่น้ำวัง แม่น้ำยม
และแม่น้ำน่าน
  ทำให้ฐานะของเมืองที่เคลื่อนย้ายนั้นได้พัฒนาตั้งเป็นเมืองที่มีหลักแหล่งถาวร
สร้างความเป็นเมืองขนาดใหญ่
  เป็นศูนย์กลางของชุมชน  มีเมืองหรือหมู่บ้านตั้งอยู่กระจัดกระจาย
ตามที่ราบลุ่มระหว่างเขา
ชุมชนทางภาคเหนือนั้นได้พัฒนาการสร้างเป็น นครรัฐ   ที่มีศูนย์กลางการปกครอง 
การค้าขาย
   การศาสนาและวัฒนธรรม     ซึ่งเป็นการพัฒนาให้เกิดชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่
โดยจัดสร้างพื้นที่การทำนาโดยใช้วิธีน้ำท่วมขังหล่อเลี้ยงต้นข้าวขึ้น
  แทนการทำนาทำไร่เลื่อนลอยบนที่สูง
และรู้จักการจัดการน้ำเข้าไปช่วยทำการเพาะปลูกที่เรียกว่า
"เหมืองฝายโดยกั้นน้ำที่ไหลตามธรรมชาติ
ลงสู่ที่ต่ำสามารถไหลแยกไปตามแนวลำเหมืองเข้าพื้นที่ทำนา ที่ปลูกลดหลั่นอยู่ตามแนวที่ราบสูง
จนสามารถปรับน้ำให้สามารถไหลกระจายลงมาใช้ทำนาได้ตามสภาพพื้นที่
 
นับเป็นการสร้างสังคมของเกษตรกรรมขึ้นอย่างเป็นระบบ
สำหรับเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางความเป็นนครรัฐในภาคเหนือนั้น ตัวเมืองจะมี
กำแพงเมืองล้อมรอบเวียง
      ภายในกำแพงหรือในเวียง นั้นมีคุ้มเจ้าเมือง(คุ้มหลวง
ซึ่งอยู่ติดกับสนามชัยหรือสนามหลวง
(ข่วงซึ่งมีวัดหัวข่วงอยู่ใกล้กัน  บ้านขุนนางและคนมีฐานะ(เจ้าของที่นา)จะอยู่ในเวียงนั้น
ส่วนหมู่บ้านในเวียงจะมีวัดและหนองน้ำขนาดใหญ่เป็นหลักอยู่ประจำหมู่บ้าน
มีถนนและทางเดินไปยังหมู่บ้านอื่นๆได้
       หนองน้ำนี้จะรับน้ำฝนจากลำเหมืองที่ขุดเอาดินถมเป็นดอน
ป้องกันน้ำท่วม
  ซึ่งสามารถใช้เป็นเหมืองระบายน้ำออกไปยังคูเมืองและสู่ลำห้วยที่ไหลออกไปสู่แม่น้ำใหญ่  
โดยลำเหมืองนี้จะไหลผ่านหมู่บ้านที่อยู่นอกเมืองวกวนไหลผ่านทุ่งนาที่กว้างใหญ่
 
นับว่าเป็นระบบชลประทานที่เกิดขึ้นสำหรับการทำนาในสมัยนั้น
นอกเวียงนั้นก็มีหมู่บ้านขนาดใหญ่ตั้งเกาะกลุ่มอยู่บนที่ดอนจากดินขุดเหมือง
และตั้งอยู่เรียงรายตามแถบพนังของลำน้ำใหญ่ และลำห้วยหรือลำเหมือง
  ซึ่งไหลผ่านทุ่งนากว้างไปยังแม่น้ำ
ถัดจากทุ่งนาและหมู่บ้านก็เป็นป่าละเมาะ
  ป่าไม้และทิวเขา  โดยมีเส้นทางเกวียนเป็นเส้นทางสัญจรไปมา
ดังนั้นนอกกำแพงจึงมีบ้านเรือนหนาแน่นตั้งรายล้อมกำแพงเมืองออกไป
หมู่บ้านนั้นมีผู้นำคอยดูแลชุมชนเหล่านั้น
   ที่เมืองเชียงใหม่นั้นมี บ้านฮ่อม  บ้านเมืองก๋าย
บ้านเมืองมาง บ้านเมืองสาตรเป็นต้น ตั้งล้อมอยู่รอบกำแพงเมืองเชียงใหม่
หมู่บ้านเหล่านี้มักสร้างขึ้นสำหรับให้เชลยศึกที่กวาดต้อนจากสงคราม
ซึ่งเป็น
ข้าปลายหอกงาช้าง”(เรียก"เก็บผักใช้ซ้า เก็บข้าใส่เมือง")ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยทำกิน
ถัดจากหมู่บ้านก็เป็นป่าละเมาะ  แนวป่า และเทือกเขา  ซึ่งมีเส้นทางเกวียนใช้ติดต่อถึงกัน
และหมู่บ้านต่างๆก็เกาะกลุ่มอยู่ตามเส้นทางเกวียนนี้
   แต่วัดที่เป็นหลักของหมู่บ้านจะตั้งห่างออกมา
และมักมีบริเวณป่าช้าแยกออกมาจากวัด
      สำหรับดงไม้ที่มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นนั้น
ชาวบ้านถือว่าเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิที่เชื่อว่า มีผีเสื้อบ้าน สถิตอยู่
  จึงมีการสร้างศาลหรือหอผีให้เป็น
คอยเฝ้าคุ้มครองหมู่บ้านและไร่นาของชาวบ้านหมู่นั้น
ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเข้าไปมีบทบาทในการดำรงชีวิตตามหลักพุทธธรรมแล้ว
การสร้างวัดเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางธรรม
   แนะนำการดำรงชีพร่วมกับธรรมชาติโดยอาศัยหลักธรรม
เป็นแนวทางปฏิบัติ ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนั้น
    ทำให้มีการสร้างวัดเป็นหลักของหมู่บ้านทุกแห่ง
พื้นที่ดอนสูงและที่ลาดเชิงเขาในภาคเหนือนั้น เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสำหรับการทำนา
ชาวบ้านจึงทิ้งให้เป็น
"ป่าละเมาะ"หรือ"ป่าแพะ"ตามธรรมชาติ เพื่อใช้ป่านี้เป็นแหล่งทรัพยากร
ที่มีค่าและอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
  เช่นการหาฟืนเพื่อใช้หุงต้ม  หาไม้สร้างบ้าน
หาสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
  รวมทั้งพืชผักที่เป็นอาหารและเนื้อสัตว์ 
โดยเฉพาะต้นไม้ที่สร้างความชุ่มชื่นให้แผ่นดิน
  จึงเป็นป่าไม้เศรษฐกิจที่สำคัญต่อการดำรงชีพ
ขั้นพื้นฐานของชุมชนในป่า
ในป่าแพะนั้นมีต้นไม้ตึงหรือไม้พลวง  หลังจากฤดูทำนาแล้วชาวบ้านจะอาศัยป่าแพะ
เข้าไปเก็บใบตึงแก่ เพื่อนำมาเย็บเป็นตับสำหรับซ่อมแซมหลังคาบ้าน
  ในต้นฤดูฝนป่าแพะ
จะอุดมด้วยยอดอ่อนของใบไม้ เห็ดเผาะ
(เห็ดถอบ)  เห็ดลม หน่อไม้ไร่ แมงมัน ผัดยอดหวาน
เป็นต้นสำหรับเป็นอาหาร
ส่วนป่าที่มีต้นไม้ใหญ่  เช่นต้นยางนั้นจะมีผึ้งหลวงจำนวนมาก มีดอกไม่ป่าบานสะพรั่ง
ยางไม้
   ถือเป็น ป่าขุนน้ำ คือป่าขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  อำนวยความชุมชื่นและ
ความอุดมสมบูรณ์ให้กับหมู่บ้าน
  จึงทำให้มีการรักษาป่าขุนน้ำไว้
เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนืออุดมสมบูรณ์ด้วยป่าขุนน้ำ  และแหล่งต้นน้ำลำธาร
อาชีพเที่ยวป่าเพื่อเก็บหาของป่าหรือล่าสัตว์เป็นอาหาร จึงเกิดขึ้นเสมอ
ในระยะแรกๆที่เกิดชุมชนใหม่ขึ้นในป่า หรือเกิดหมู่บ้านอยู่ติดกับป่าที่ถือว่าเป็น
แหล่งอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นชาวบ้านจึงมีความเคารพต่อป่า
โดยแปรประโยชน์ที่จะได้จากป่าให้เป็นพิธีอธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองป่าตลอดถึงห้วยหนอง
คลองบึง
   มีการประกอบพิธีกรรม  บวงสรวงบูชาในฐานะ เจ้าขุนน้ำ เจ้าป่า และเจ้าเขา
ทำให้เกิดความเชื่อเป็นประเพณีว่า
  ก่อนที่จะเข้าป่าทุกครั้งชาวบ้านต้องแสดงคารวะด้วยการเซ่นไหว้เจ้าขุนน้ำ
เจ้าป่าและเจ้าเขา
    พร้อมที่จะเข้าใจกฏเกณฑ์การหาของป่ามากขึ้นด้วย
ดังนั้นเมื่อมีการตัดไม้ทำลายป่าและทำลายแหล่งต้นน้ำลำธารเกิดขึ้น
หมู่บ้านที่เคยอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารนั้น ย่อมเห็นคุณค่าของป่าและแหล่งน้ำมากกว่า
แม้จะมีความคิดรักษาสภาพของป่าและดูแลแหล่งแม่น้ำลำธารให้มีสภาพเป็นแหล่งอาหาร
ทางธรรมชาติเหมือนเดิม
ภูมิปัญญาในการจัดการเรียนรู้อย่างเข้าใจและสร้างการทำงานเพื่อให้ได้ผลสำเร็จ
ตามที่ต้องการนั้น
   หากไม่มีภูมิปัญญาเข้าไปให้ความรู้   ด้วยการคิดผสมผสานวิธีการไปสู่ความสำเร็จ
และ ความร่วมมืออย่างแพร่หลาย มีกลุ่มทำงานตามองค์ความรู้นั้นๆแล้ว
   
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นและหารูปแบบที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ยาก
  ดังตัวอย่าง  เช่น
พระครูพิทักษ์นันทคุณ จังหวัดน่าน ภูมิปัญญาที่ชี้ให้เห็นผลของการตัดไม้ทำลายป่า
และเริ่มปลูกป่าสำหรับชุมชนขึ้นท่ามกลางการประกาศเขตป่าสงวน
ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับป่าชุมชน
  สร้างกลุ่มฮักเมืองน่านสร้างกิจกรรมรักแม่น้ำน่าน
และอนุรักษ์พันธ์ปลาอย่างแพร่หลาย โดยการบวชต้นไม้ และการสืบชะตาแม่น้ำ
เป็นภูมิปัญญาที่สร้างความรักแผ่นดินให้เกิดขึ้นในหัวใจด้วยพุทธธรรม


โคมลอย





ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดไว้







ประวัติโคมลอยโคมลอย หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ว่าวหรือ โกม
ยังแยกเป็นว่าวลม คือ ใช้ปล่อยในเวลากลางวัน และว่าวไฟใช้ปล่อยเวลากลางคืนโคมลอยมีลักษณะคล้ายลูกบอลลูน วัตถุประสงค์
ในการปล่อยโคมลอยโดยทั่วไปแล้วชาวบ้านจะมีความเชื่อกันคือ
1. เพื่อทำเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาสังฆบูชา
2. เพื่อให้โคมนั้นช่วยนำเอาเคราะห์ร้าย ภัยพิบัติต่างๆ ให้หายไปจากหมู่บ้าน
3. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ

อ้าวอิง: http://chopakaloo.blogspot.com/

                                         ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคเหนือ(เข้าสู่การค้าอาเซียน)

ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลุ่มที่ 1 คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการพื้นฐานของ     องค์แห่งความรู้
กลุ่มที่ 2 ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
กลุ่มที่ 3 การประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่น
กลุ่มที่ 4 แนวความคิด หลักปฏิบัติและเทคโนโลยีสมัยใหม่     และแต่ละประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลุ่มที่ 1 
คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการพื้นฐานขององค์แห่งความรู้
ได้แก่ การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยการพึ่งพาธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพ เช่นชุมชนภูเขา มีความเชื่อในเรื่องของผีป่า เจ้าป่า เทพารักษ์ ผู้อยู่ตามพื้นราบเชื่อในเรื่องพระภูมิเจ้าที่ พระภูมินา การสู่ขวัญ แม่ย่า นางเรือ เป็น ความคิดความเชื่อเหล่า นี้จะนำมาสู่การพัฒนาชีวิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำ การจัดทำพิธีกรรมบวชต้นไม้ การจัดตั้งป่าสมุนไพร สหกรณ์หมู่บ้าน ธนาคารโค กระบือ ธนาคารข้าว กลุ้มทอผ้า กลุ่มฌาปนกิจ เป็นต้น
บวชต้นไม้สหกรณ์ร่มบ่อสร้าง


             
กลุ่มที่ 2 ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
เช่น ประเพณีการบวชนาคเข้าพรรษา ออกพรรษา วันสำคัญทางศาสนา การทำบุญวันเกิด โกนผมไฟ โกนจุก ขึ้นบ้านใหม่แต่งงาน นอกจากนั้น ยังมีศิลปกรรมพื้นบ้าน ที่แสดงปรากฏให้เห็นถึงความสำเร็จของภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ เช่น งานถักสายและทอกระเป๋าย่านลิเภาภาคใต้ กระเป๋าถือใบตาล เสื่อจันทบูร เปลเด็ก เครื่องปั้นดินเผา งานแกะสลัก งานปั้นหล่อ ด้วยโลหะการก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัย ภาพเขียนบนผนัง การฟ้อนรำและเพลงพื้นบ้าน เป็นต้น


                                                                                               ฟ้อนเล็บ




                                                                          เรือนกาแล

                                                     
                                                                               



กลุ่มที่ 3 การประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่น
ในแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับสมัยเป็นการปรับการดำเนินชีวิตที่เคยถูกครอบงำจากสภาพสังคม พ่อค้าคนกลางระบบธุรกิจ ระบบโรงงาน กลับเข้าสู่การเกษตรที่อาศัยความสมดุลทางธรรมชาติ สามารถยืนหยัดต่อสู้กับความล้มเหลวกับการล้มละลายทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ได้อย่างภาคภูมิใจด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และการการสั่งสมประสบการณ์ เช่น การทำวนเกษตร ทำการเกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรแบบพึ่งตนเอง การทำสวนสมุนไพรและการแพทย์แผนโบราณ
เพาะปลูกแบบขั้นบันได
                                                                 

                                                                       







กลุ่มที่ 4 แนวความคิด หลักปฏิบัติและเทคโนโลยีสมัยใหม่และแต่ละประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
                        เป็นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซีเมนต์ โดยจัดระบบการถ่ายเทน้ำและคิดสูตรอาหารปลาขึ้นมาเอง การคิดค้นวิธีที่จะกรองน้ำให้ใสเพื่อเพาะฟักลูกปลาให้รอดตาย การประดิษฐ์เครื่องนวดข้าว แบบประหยัด และการคิดสร้างอ่างเก็บน้ำ จากอ่างเก็บน้ำบนภูเขา ลงมาใช้ปลูกพืชสวน
                                                                                                       ฝายทดน้ำ 

                                                                                                               







กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
            1. การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ถือว่าเป็นวิธีการถ่ายทอดของผู้อาวุโส หรือ ผู้เฒ่าผู้แก่โดยเป็นตัวอย่างของคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง ชุมชนเดียวกัน
2. การคิดร่วมกัน เป็นการกระตุ้นให้สมาชิกในชุมชนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ อย่างเป็นธรรมชาติ มีการแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็นอย่างมีเหตุผลเปิดโอกาสถ่ายทอดภูมิปัญญาซึ่งกันและกัน
3. การสร้างสรรค์กิจกรรมหรือการทำงานร่วมกัน โดยการขยายเครือข่ายระดับบุคคลระดับกลุ่มให้มากเพราะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาหลากหลายและนำมาพัฒนากิจกรรมที่กระทำอยู่
            4. การบรรยาย หรือ เวทีชาวบ้าน เป็นกิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่ง สำ หรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ประสบการณ์ของชาวบ้านร่วมกัน อันจะส่งผลให้สมาชิกของชุมชนมีความรู้ความสามารถสูงขึ้น
ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สั่งสมกันมาแต่อดีต
                        2.ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่เรื่องของการจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  คนกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ
                        3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นถ่ายทอดโดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิต   และพิธีกรรมต่าง ๆ ให้เกิดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น
4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้เกิดความสงบสุขทั้งในชุมชน หมู่บ้าน หรือในส่วนตัวของชาวบ้าน
                        5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้  ลดการพึ่งตนเองจากสังคมภายนอก มีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนของตน   ทราบถึงความต้องการของตน   เข้าใจตนเอง และเป็นการปลูกสำนึกในการรับรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                6.ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาและนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้  เป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
แนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
1)  การค้นคว้าวิจัย  ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่าง ๆ  ของท้องถิ่น  จังหวัด  ภูมิภาคและของประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น  มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต  และสภาพการณ์ในปัจจุบัน              
                         2)  การอนุรักษ์  กระทำโดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่า  แก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ  สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนในท้องถิ่นที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น  รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น  เพื่อแสดงสภาพวิถีชีวิตและความเป็นมาของชุมชนอันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
3)  การฟื้นฟู  โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังจะสูญหาย  หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น  โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม  คุณธรรม  และค่านิยม
                        4)  การพัฒนา  ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพ  ควรนำความรู้ก้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดเพื่อใช้ในการผลิต  การตลาด  และการบริหาร  ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5)  การถ่ายทอด  โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านการเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้านแล้วไปถ่ายทอดให้แก่คนในสังคมได้รับรู้  เกิดความเข้าใจ  ตระหนักในคุณค่า  คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม  โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา  และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง          
                        6)  ส่งเสริมกิจกรรม  โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่าง ๆ   เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
7)  การเสริมสร้างเอตทัคคะ  ควรส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้านผู้ดำเนินงานและปราชญ์ท้องถิ่น  ให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญาและพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่  จัดให้มีการยกย่องและประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่าง ๆ  รวมทั้งส่งเสริมให้มีโอกาสได้รับการยกย่องและประกาศเกียรติคุณในระดับที่สูงขึ้นไป
                        8)  การเผยแพร่แลกเปลี่ยน  โดยการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมให้เกิดการเผยแพร่แลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง  โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ  ด้วยสื่อและวิธีการต่าง ๆ  ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มชน  และท้องถิ่นต่าง ๆ  อย่างกว้างขวาง  รวมทั้งประเทศอื่น ๆ  ทั่วโลก
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.ความจำเป็นในการดำรงชีวิต ทำให้ผู้คนต่างก็พยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต จึงคดปรับปรุงพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งต่างๆจากสภาพแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่นการนำพืชพรรณธรรมชาติมาสร้างที่อยู่อาศัย ปรุงอาหาร เป็นต้น
                        2.สภาพทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เช่นในท้องถิ่นที่มีเทือกเขาสูงมีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดปี บริเวณที่มีฝนตกชุก น้ำท่วมก็สร้างบ้านเรือนที่ใต้ถุนสูง
3.ความเชื่อหลักคำสอนทางศาสนาและอำนาจเหนือธรรมชาติ คนไทยมีพระพุทธศาสนาและอำนาจเหนือธรรมชาติ มีหลักคำสอนทางศาสนาเป็นวิธีในการดำเนินชีวิต และเป็นที่พึ่งทางใจ จึงมีการจัดที่ปูชาไว้สำหรับการกราบไหว้ ทำให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านต่างๆเช่น ด้านประติมากรรมมีการสร้างพระพุทธรูป
                        4.ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีจากตะวันตก เช่นการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน
                        5.การศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์เพิ่มเติม
                        6.ภาวะของการเป็นผู้นำ



ภูมิปัญญาท้องถิ่นของล้านนา


การทำร่มด้วยกระดาษสา

ตำนานร่มบ่อสร้าง

      ร่มบ่อสร้างตามตำนานเล่ากันว่า  ครั้งหนึ่งเมื่อพระครูอินถา ซึ่งประจำอยู่วัดบ่อสร้าง  อำเภอสันกำแพง   จังหวัดเชียงใหม่  ไดธุดงค์ไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ได้มีโอกาสเห็นวิถีชีวิตและการทำร่มของชาวบ้าน ซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อย้ายมาจากมณฑลยูนานแคว้นสิบสองปันนาประเทศจีน และตั้งถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณนั้นยังคงสืบทอดการทำร่มอยู่ พระครูบาสนใจวัฒนธรรมการทำร่มนี้เป็นอย่างมากจึงศึกษาอย่างละเอียด และนำกลับมาเผยแพร่ยังหมู่บ้านบ่อสร้าง โดยแยกชิ้นส่วนการทำร่มให้กับหมู่บ้านใกล้เคียงได้หัดทำ และนำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบที่หมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
     



       ลักษณะของร่มกระดาษที่มีคุณภาพดี


    1. มีรูปทรงสวยงาม
     2. โครงร่มและส่วนประกอบของร่มจะต้องมีความเรียบร้อยแข็งแรง
     3. กระดาษที่ใช้ปิดร่มมีความหนาพอสมควร
     4. สีและน้ำมันที่ใช้ทาไม่ตกและหลุดลอกได้ง่าย
     5. เวลาใช้สามารถกางขึ้นลงได้สะดวก
   
   การทำร่มเพื่อให้มีคุณภาพดี
    1. คัดเลือกวัตถุดิบเอาแต่ชนิดที่มีคุณภาพดี
     2. กรรมวิธีในการผลิต นับว่ามีความมีสำคัญมากเพราะร่มจะมีคุณภาพดีมีความสวยงามนั้นขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตทั้งสิ้นการประกอบร่มทุกขั้นตอนจะต้องทำ ด้วยความประณีตเสมอ
     3. การเก็บรักษาร่ม และส่วนประกอบของร่มจะต้องมีการป้องกันตัวแมลงต่างๆ มิให้มาทำลายร่มได้ส่วนประกอบของร่มที่เป็นไม้ไผ่ควรจะได้รับการแช่น้ำยาเพื่อป้องกันแมลงเสียก่อน

   ขนาดของร่มกระดาษสาแบ่งออกได้เป็น 5ขนาด
     1. ร่มขนาด 44 นิ้ว
      2. ร่มขนาด 20 นิ้ว
      3. ร่มขนาด 17 นิ้ว
      4. ร่มขนาด 14 นิ้ว
      5. ร่มขนาด 10 นิ้ว



     วิธีการทำร่มกระดาษสาจากเปลือกของต้นสา

        นำเปลือกสาที่ได้มาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปต้มกับขี้เถ้าหรือโซดาไฟ       ประมาณ 3-4 ชั่วโมง จนเห็นว่าเปื่อยดีแล้วจึงนำออกมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาทุบให้ละเอียดจนยุ่ย จึงนำไปแช่ในอ่างน้ำซึ่งก่อด้วยซีเมนต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 2 คูณ 3เมตรและลึกประมาณ1/2 เมตรบรรจุน้ำ 3/4  ของถัง  ใช้ไม้คนให้ทั่วแล้วใช้ตะแกรงขนาดตามที่ต้องการซึ่งส่วนมากจะมีขนาด 40x60 เซนติเมตร ตักเยื่อเปลือกไม้ในน้ำขึ้นมาแล้วนำออกมาตากให้แห้ง เมื่อเนื้อเยื่อของเปลือกสาที่ตากไว้แห้งดีแล้วจึงค่อยลอกออกมาก็จะได้กระดาษสาเป็นแผ่นเรียกกันว่ากระดาษสา ซึ่งสามารถนำไปใช้หุ้มร่มต่อไป
       
   วิธีทำโครงร่ม

    โครงร่มประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
   1. หัว  ทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ตีนเป็น , ไม้ส้มเห็ด , ไม้ตุ้มคำ  และไม้แก
   2. ตุ้ม  ทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ตีนเป็น , ไม้ส้มเห็ด , ไม้ตุ้มคำ  และไม้แก
   3. ค้ำ   ทำจากไม้ไผ่ตง เพราะเหนียวและทนทาน
   4. ซี่กลอน  ทำจากไม้ไผ่ตง เพราะเหนียวและทนทาน
   5. คันถือ  ทำจากไม้ไผ่เล่มเล็กหรือไม้เนื้ออ่อนก็ได้
   6. ม้า (สลัก)  ทำจากสำหรับเล่มเล็กทำด้วยสปริงเหล็ก  ส่วนร่มใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่เหลา
   7. ปลอกลาน  ทำจาก ใบลาน ทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อนขึ้น-ลงเวลากางหรือหุบร่ม
   
  วิธีหุ้มร่ม
       ร่มกระดาษสาหรือร่มฝ้ายคลุมร่มด้วยกระดาษสาหรือผ้าฝ้ายบางโดยใช้แป้งเปียกที่ผสมกับยางของผลตะโก ซึ่งได้จากการทุบตะโกให้ละเอียดแล้วนำไปดองไว้ประมาณ 3 เดือนจึงนำออกมาใช้ น้ำตะโกนี้จะช่วยทำให้ร่มกันฝนได้และทั้งยังช่วยทำให้ร่มตึงและช่วยให้แป้งเปียกเหนียวยึดวัสดุที่ใช้คลุมร่มเข้ากับโครงร่มได้สนิทดียิ่งขึ้น ในขั้นแรกทาแป้งเปียกที่ผสมน้ำยางผลตะโก 2 ครั้ง ตากร่มให้แห้งอีกครั้งหนึ่งจึงนำไปทาสี การทาสีร่มนี้ทำโดยการใช้ผ้าชุบสีกลึงบนร่มที่ต้องการสมัยก่อนมีเพียง สีเท่านั้นที่ทาร่ม คือ สีแดงและสีดำ สีแดงได้จากการนำสีของดินแดงที่มีอยู่บนภูเขา ส่วนสีดำนั้นได้มาจากเขม่าไฟผสมน้ำมันยาง
      
  ร่มแพรกระดาษสา หรือ ร่มผ้าไหม       
    ใช้กาวลาเท็กซ์ทาลงบนโครงร่มและใช้ผ้าแพร  กระดาษสา  หรือผ้าไหม  รีดให้เรียบด้วยมือตัดให้เป็นรูปร่างตามโครงร่มที่คลุมเป็นอันใช้ได้

การเขียนลวดลายลงบนร่ม
         ในสมัยก่อนไม่ได้มีการเขียนลวดลายลงบนร่มเหมือนในปัจจุบันเพียงใช้ร่มสีพื้นๆ สี ดังได้กล่าวมาแล้ว การเขียนลายลงบนร่มพึ่งมีขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง

        วัตถุดิบและส่วนประกอบของร่ม ร่มกระดาษใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบ คือ
        1. หัวร่ม ตุ้มร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน เช่นไม้โมกมัน ไม้สมเห็ด ไม้ซ้อ ไม้ตะแบก และไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่นๆ เมื่อไม้แห้งแล้วไม่หดตัวมาก การที่เลือกเอาไม้เนื้ออ่อนเป็นหัวร่ม ตุ้มร่มนั้นเพราะว่าไม้เนื้ออ่อน สะดวกแก่การกลึงและผ่าร่องซี่
        2. ซี่ร่ม ทำด้วยไม่ไผ่ ไม้ไผ่ที่จะนำมาทำเป็นซี่ร่มต้องมีลักษณะปล้องของไม้ไผ่จะต้องยาวถึง ฟุตขึ้นไป เนื้อไม้ไม่หนาน้อยกว่า นิ้ว และเป็นไม้ที่มีอายุตั้งแต่ ปีขึ้นไป ไม้อ่อนใช้ไม่ได้ เพราะไม้อ่อนเวลาแห้งแล้วไม้หดตัวมาก และตัวมอดยังชอบกินอีกด้วย
        3. กระดาษปิดร่ม ใช้กระดาษที่มีเนื้อนิ่มไม่แข็งกระด้าง และมีความหนาพอสมควร แต่เท่านี้นิยมกันมากได้แก่กระดาษสา และกระดาษห่อของสีน้ำตาล
        4. น้ำมันทาร่ม ใช้ทาด้วยนำมันมะหมื่อ หรือนำมันทัง
        5. สีทาร่ม ใช้ทาด้วยสีน้ำมัน
        6. น้ำยางปิดร่ม ใช้ปิดด้วนน้ำยางตะโก หรือ น้ำยางมะค่า
        7. ด้าย ที่ใช้ในการร้อยประกอบส่วนต่างๆ ของร่มใช้ด้ายดิบหรือด้ายมันนำมากรอเป็นเส้นและตีควบเป็นเกลียวตามขนาดที่ต้องการ
        8. คันร่ม ใช้ไม้เนื้ออ่อนกลึงหรือทำด้วยไม้ไผ่ถ้าเป็นไม้ไผ่ต้องใช้ปลายไม้ขนาดเล็กหรือต้นไผ่ขนาดเล็กก็ได้ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นไม่เกิน 7/8 นิ้ว และต้องมีรูข้างในด้วยเพื่อสะดวกในการติดสปริงดันร่ม
        9. หวายสำหรับพันด้ามร่ม ถ้าคันร่มทำด้วยไม้ไผ่ตรงส่วนที่เป็นด้ามถือ จะต้องพันด้วยเส้นหวายผ่าซีกขนาดเล็ก ( หวายเลียด ) หรือจะใช้ เส้นพลาสติกพันแทนก็ได้
      10. ปลอกสวมหัวร่ม ใช้ใบลาน ใบตาล หรือกระดาษหนา ที่มีความหนาใกล้เคียงกันก็ได้
      11. น้ำมันสำหรับผสมกับสี ใช้น้ำมันก๊าด
      12. ห่วงร่ม ทำจากเส้นตอกไม้ไผ่ ขดเป็นวงกลมและพันด้วยกระดาษสาให้รอบชุบน้ำยางตะโกและตากแดดให้แห้ง 
      13. โลหะครอบหัวร่ม ทำด้วยแผ่นปั๊มหรือพลาสติกปั๊มก็ได้ 

       วิธีทำร่มกระดาษ


         1. การทำหัวร่ม ตุ้มร่ม นำไม้สำหรับทำหัวร่ม และ ตุ้มร่ม ขนาดโตวัดเส้นผ่า ศูนย์กลางขนาด2-2.5 นิ้วนำเอามาตัดท่อนๆความเท่ากับขนาดของหัวร่มและตุ่มร่มที่ต้องการแล้วเจาะรูตรงกลางขนาดพอที่จะใส่คันร่มชนิดนั้นๆ ได้แล้วจึงเอาไปกลึงเป็นหัวร่มรือตุ่มร่มตามแบบที่ได้กำหนดไว้
        2. การทำซี่ร่ม หลังจากได้ไม้ไผ่มาแล้งก็นำเอามาตัดออกเป็นท่อนๆถ้าเป็นไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวก็ตัดระหว่างข้อ แต่ถ้าเป็นไม้ปล้องสั้นก็ตัดให้ข้อไม้อยู่ตรงกลางความยาวของท่อนไม้ที่ตัดเท่ากับขนาดของร่มที่จะทำ เช่น ทำร่มขนาด 20นิ้วก็ตัดไม้ไผ่ยาว 20นิ้วเป็นต้นเมื่อตัดไม้ไผ่เป็นท่อนยาวแล้วก็ใช้มีดขูดผิวไม้ออกให้หมดแล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรูไว้
โดยการใช้ตะปูตอกบนไม้ ขอให้ปลายตะปูโผล่ออกมานิดหนึ่งแล้วใช้ไม้ขอขีดรอบปล้องไม้ตรงกับระยะที่ต้องการเจาะรูแล้วจึงผ่าไม้ออกเป็น 4 ชิ้น แต่ละชิ้นขนาดเท่ากันใช้มีดตรงท้องตามระยะที่ได้กะไว้ให้เสมอกันทุกชิ้น ให้ทางปลายซี่เรียว และใช้มีดจักเป็นซี่ๆตรงหัวไม้ ความหนาแต่ละซี่ประมาณ 1/8 นิ้ว แล้วใช้มือฉีกออกเป็นซี่ๆ ถ้าฉีกไม่ออกก็ใช้มีดผ่าออกไปตรงๆ แล้วเหลาทั้งสองข้างให้ เรียบและปาดตรงหัวซี่ทั้ง ให้บางพอดีที่จะใส่เข้าร่องหัวร่มได้แล้วซี่ตรงท้องนิดนึงเพื่อให้มุมมนแล้วเหลาตรงท้องซึ่งให้ ้ปลายซี่ร่มเรียวเท่ากันทุกๆซี่ ใช้มีดปลายแหลมแทงลงไปตรงรอยปาดท้องซี่ ให้ปลายมีดทะลุออกด้านหลังซึ่งตรงกลางแล้ว ผ่าตรงออกไปตามยาวประมาณ นิ้ว เพื่อให้ปลายซี่สั้นสอดเข้าไปเวลาร้อยคือ ประติดกับซี่สั้น
        ส่วนการทำซี่ร่มสั้นนั้น ตัดไม้ยาวตามขนาดที่ต้องการแล้วเกลาเอาผิวไม้ออก แล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรู แล้ว จักเป็นซี่ๆ เหลาสองข้างให้เรียบร้อย ปลายซึ่งข้างหนึ่งปาดท้องซี่ให้เป็นมุมแล้วเหลา ข้าง ให้บางที่จะสอดเข้ารองตุ่มร่มได้ ส่วนอีกข้างหนึ่งเหลาปลายให้มน และเหลาตรงปลาย ข้างให้บางพอสมควร
        3. การเจาะรูซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว ใช้เหล็กแหลมชนิดปลายเป็นสามเหลี่ยมเจาะโดยการหมุนไปหมุนมาหรือ จะใช้เหล็กแหลมเผาไฟให้ร้อนแล้วเจาะรูก็ได้ (ถ้าไม่มีเครื่องเจาะ) แต่ถ้ามีเครื่องเจาะซี่ร่มโดยเฉพาะ ก็ใช้เครื่องเจาะเพราะจะได้เร็ว
        4. การมัดหัวร่มและตุ่มร่มนำเอาซี่ร่มยาวและซี่ร่มสั้นที่เจาะรูแล้วร้อยติดกันเรียงเป็นตับโดยร้อยเอาทางหลัง ซี่ขึ้นข้างบนทุกซี่ แล้วเอาหัวร่มที่ผ่าร่องซี่แล้วมาปาดซี่ออกเสีย ช่อง เพื่อสำหรับจะได้ไว้ผูกปมเชือก เอาซี่ร่มที่ร้อยแล้วใส่ลงไป ในหัวร่มช่องละซี่ แล้วดึงเชือกให้ตึงแล้วใส่ต่อไปอีกจนครบทุกช่อง แล้วดึงปลายเชือกทั้ง ข้างให้ตึง เอาปลายเชือกผูกให้แน่น แล้วตัดเชือกที่ผูกออกให้เหลือปลายเชือกไว้ประมาณข้างละ นิ้ว การมัดหัวร่มและตุ้มร่มทำด้วยวิธีเดียวกัน